เปรมภูริศวร์ ปัณวิชษราพิบูล TEL: 090-6545829 LINE: healtoffice
BASKET
(0)

โรคพาร์กินสัน

ebad27be58356507ddc60a5ae9e89dcf

   ถ้าจะพูดถึง โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เรามั่นใจว่า หนึ่งในนั้น ก็คงไม่พ้นโรคพาร์กินสัน โดยอาการที่เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนกับผู้ป่วยในกลุ่มโรคนี้ นั่นก็คืออาการสั่นไม่หยุด ซึ่งในวันนี้เราอยากจะพามาแนะนำให้ได้รู้จักกับโรคพาร์กินสัน กันซักเล็กน้อย นั่นก็เพื่อให้เหล่าบรรดาลูกๆหลานๆ ได้ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคนี้กัน 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคพาร์กินสัน คืออะไร โรคพาร์กินสันนี้ถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสมอง รวมไปถึงระบบประสาท ของเหล่าบรรดาผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยคนไทยสมัยโบราณนั้นรู้จักโรคพาร์กินสันกันมานานแล้ว แต่ในสมัยก่อน นิยมเรียกกันว่า โรคสันนิบาตลูกนก ซึ่งแน่นอนว่าคนสมัยก่อนอาจจะให้ความสนใจน้อยทำให้ไม่ได้มีบันทึกไว้อย่างชัดเจน แต่ในยุคปัจจุบันนี้คนไทยให้ความสนใจเกี่ยวกับโรคพาร์กินสันกันมากขึ้น ทำให้เหล่าบรรดาผู้ป่วยรวมไปถึงคนในครอบครัวต่างก็อยากที่จะเรียนรู้ และทำความเข้าใจกันตั้งแต่เนิ่นๆ 

โดยอาการที่ควรสังเกตนั้น กลุ่มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีลักษณะของการเคลื่อนไหวช้า เกิดอาการสั่นของส่วนต่างๆของร่างกาย รวมไปถึงอาการเกร็ง ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ควรสังเกต โดยโรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความเสื่อมของประสาทที่ส่งผลกับการเคลื่อนไหว เป็นผลจากการตายของเซลล์สมองส่วนก้านสมองส่วนกลาง แต่การตายของเซลล์สมองนั้น มีระยะดำเนินมา 4 ถึง 10 ปี ก่อนที่ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางด้านการเคลื่อนไหว นั่นก็คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น การนอน อารมณ์จิตใจ ที่มีความผิดปกติ 

จากหลักฐานของทางการวิจัย มีการยืนยันว่าการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่รู้ว่าการเคลื่อนไหวผิดปกติและมีอาการอื่นๆร่วมด้วย จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีกว่า ซึ่งจะมีการช่วยกันในด้านการปรับยา การแนะนำเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย รวมไปถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เรียกได้ว่า ดูแลตั้งแต่เนิ่นๆก็จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีคุณภาพชีวิตไปในทางที่ดีไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจ ซึ่งการรักษาในปัจจุบันถือว่ามีความทันสมัยอย่างมาก ทำให้การรักษามีแนวการรักษาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา การผ่าตัด แน่นอนว่า การช่วยเหลือในด้านต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยอยู่ได้ดีที่สุดและยาวนานที่สุด 

ซึ่งอาการที่คุณควรสังเกตตั้งแต่ต้นๆนั่นก็คือ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อเกร็ง สีหน้าไร้อารมณ์ หลังค่อมตัวงุ่มลง รับรู้กลิ่นลดลง ท้องผูก ตะโกนร้องหรือมีการขยับแขนขาลงแรงในขณะหลับ รวมไปถึงการเขียนตัวหนังสือเล็กลง ก็ถือได้ว่าอาการต่างๆเหล่านี้เป็นอาการที่น่าสงสัยและหากคุณมีโอกาสก็ควรที่จะพาผู้ป่วยไปพบและปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอย่างที่เราบอกไป ยิ่งรู้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้วิธีการดูแลได้เร็วเท่านั้น 

 

อ่าน 1,279 ครั้ง